กัญชากับโรคนอนไม่หลับและความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ

การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่การจะมีร่างกายที่แข็งแรงได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัย และเป็นสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือ ‘การนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ’ หลายคนเมื่อนอนไม่หลับมาเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง ก็ส่งผลให้ต้องหันหน้าไปพึ่งยาตามร้านขายยาและตามใบสั่งแพทย์

ปัจจุบัน กัญชาได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์กันมากขึ้น หรือบางคนรู้จักกันในชื่อ ยากัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) และความผิดปกติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ (Sleep Disorder) กันมากขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีการรักษาแบบธรรมชาติซึ่งนับว่าเป็นอีกหนี่งทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ภาวะด้านจิตใจ

เกิดความเครียด, ความวิตกกังวล และความกดดันจากเรื่องต่าง ๆ บางกรณีอาจมีเรื่องภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย และความต้องการที่จะอยู่คนเดียว

  • อาการเจ็บป่วย

เช่น ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดท้อง, มีไข้, มีอาการไอ รวมถึงมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ เป็นต้น

  • แอลกอฮอล์และคาเฟอีน

รวมไปถึงบุหรี่, กาแฟ และผลจากการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อการนอน

  • ภาวะการนอนหลับ

เช่น การละเมอ, ฝันร้าย หรือตื่นกลางดึกจนติดเป็นนิสัย

  • การทำงานเป็นกะ

บางคนมีอาชีพที่ต้องทำงานเป็นกะ ทำให้ต้องเปลี่ยนรอบเวลาในการทำงานเป็นประจำ

  • ปัญหาสภาวะแวดล้อม

เช่น บริเวณบ้านมีเสียงดังรบกวน, มีแสงสว่างมากเกินไป เหล่านี้ส่งผลให้นอนหลับได้ยากเช่นกัน

สารในกัญชาที่เกี่ยวกับการนอนหลับ

ในกัญชาจะมีสารประกอบอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ CBD (Cannabidiol) และ THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นสารที่อยู่ในกลุ่ม Cannabinoids (แคนนาบินอยด์) ที่สามารถพบได้ในทั้งกัญชาและกัญชง

ทั้ง CBD และ THC จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบ Endocannabinoid (เอนโดแคนนาบินอยด์) ในร่างกาย มีผลต่อการควบคุมการนอนหลับ รวมถึงกระบวนการอื่น ๆ เช่น ความเจ็บปวด, ความอยากอาหาร, บรรเทาอาการปวด, ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ, ลดความวิตกกังวล และลดการอักเสบ เป็นต้น

CBD ช่วยให้หลับสนิทได้ ไม่มีผลต่อจิตประสาท ไม่เสี่ยงต่อการเสพติด ในขณะที่ THC หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดผลต่อจิตประสาท และเสี่ยงต่อการเสพติด ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้

สารประกอบกัญชา

‘กัญชา’ เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายต้นหญ้า ซึ่งในกัญชามีสารประกอบสำคัญอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ THC และ CBD ซึ่งมีรายละเอียดในแต่ละสารประกอบ ดังนี้

  • สาร THC

THC ย่อมาจาก Tetrahydrocannabinol สารชนิดนี้จะช่วยในการผ่อนคลาย, เคลิบเคลิ้ม, บรรเทาอาการตึงเครียด, ลดความวิตกกังวลได้ดี, มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท และเสี่ยงต่อการเสพติด

  • สาร CBD

CBD ย่อมาจาก Cannabidiol สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด, ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, บรรเทาอาการอักเสบของแผล, ลดอาการเกร็ง, ลดอาการคลื่นไส้ และยังช่วยยับยั้งการเกิดใหม่ของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

ประโยชน์ของกัญชาต่อการนอนหลับ

ด้วยสารในกัญชาจากข้างต้นที่ได้กล่าวมาที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการคลายกล้ามเนื้อ ดังนั้น ในส่วนนี้เราจะมาดูกันว่า กัญชาช่วยในเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการนอนหลับ

  • ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล
  • ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น
  • ช่วยให้หลับได้นานขึ้น
  • ทำให้ไม่ไม่ฝัน ซึ่งกระทบกับการนอนหลับลึก
  • ลดการเกิด REM Sleep (Rapid Eye Movement) หรือระยะที่ตากลอกไปมา
  • ช่วยลดการฝันร้าย ในผู้ที่มีอาการ PTSD มาก่อน
  • ทำให้ตื่นมาแล้วสดชื่น เนื่องจากพักผ่อนได้เต็มที่

วิธีการใช้ CBD และ THC เพื่อการนอนหลับ

การใช้น้ำมันกัญชาไม่ว่าจะเป็น CBD oil หรือ THC oil มีข้อที่ควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้

  • เริ่มจากปริมาณที่น้อย

อะไรก็ตามที่เพิ่งเป็นการเริ่มต้นใช้ ควรเริ่มในปริมาณที่น้อยก่อน ค่อย ๆ ทานอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะในเรื่องปริมาณการใช้ เพราะจวบจนขณะนี้ก็ยังไม่มีปริมาณการใช้ที่มาตรฐานว่าควรใช้ในปริมาณเท่าไหร่ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นตัวแปร เช่น น้ำหนักตัว, ระบบการเผาผลาญ, ความเข้มข้นของสารที่ใช้ รวมถึงความไวของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารนั้น ๆ

  • ให้เวลาในการออกฤทธิ์

ผลิตภัณฑ์กัญชาในแต่ละประเภทจะมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่ต่างกันไป ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้ก็คือ หลังการบริโภคแล้ว ควรทิ้งระยะเวลาเพื่อให้สารในกัญชาออกฤทธิ์ด้วยเช่นกัน

โดยหากเป็นทิงเจอร์, น้ำมันกัญชา ควรรอประมาณ 15-20 นาที หากเป็นกัมมี่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง แบบดอกประมาณ 30-45 นาที แต่ทางที่ดีที่สุดควรทดลองด้วยตัวเอง เพื่อหาปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม

  • ปรึกษาแพทย์

สำหรับมือใหม่ที่ต้องการหันมาใช้กัญชาเพื่อการนอนหลับ และไม่แน่ใจว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์แบบใด, ปริมาณเท่าไหร่ รวมไปถึงผู้ที่มียาที่ทานประจำตามที่แพทย์สั่งอยู่แล้ว ควรเข้าปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินและคำนวณปริมาณการใช้ที่เหมาะสมต่อไป

โรคนอนไม่หลับ, นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับได้แต่ไม่ลึก จนกลายเป็นปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูที่เหมาะสม ด้วยสรรพคุณของกัญชาที่มีส่วนช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ, ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ, ลดการอักเสบ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสาร CBD และ THC ที่เป็นสารในกัญชาได้รับการยืนยันว่าสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ และปรับปรุงคุณภาพของการนอนหลับให้ดีขึ้นได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ THC กันสักนิด เนื่องจากหากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเสพติดได้ ดังนั้น ก่อนการใช้กัญชาเพื่อการนอนหลับ ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแต่ละบุคคล

ที่มา: Weed Review


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *